
เจ็บข้อเท้าด้านนอก เกี่ยวข้องกับ เท้าพลิก
อาการเจ็บข้อเท้าด้านนอก ไม่ได้พบบ่อยมากในนักเมื่อเทียบกับอาการปวดเข่า หรือปวดส้นเท้าแต่คนที่เคยเป็น คงพอจะทราบว่ามันไม่ง่ายที่จะรักษาให้หาย ถึงแม้ไม่ได้เจ็บมาก แต่ก็ไม่หายสนิทเสียที อาการเจ็บข้อเท้าด้านนอกยังเกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บอื่นด้วย เช่น ข้อเท้าพลิก
งานวิจัยของเก็บข้อมูลจากนักวิ่งที่มีปัญหาข้อเท้าพลิก มีอาการปวดข้อเท้าด้านนอกมาอยู่ก่อนแล้วจำนวน 58 คน จากการซักถามประวัติพบว่า มีอาการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้าด้านนอก Tendinosis) อยู่ด้วย โดยเส้นเอ็นบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนปลายของกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณขาด้านนอก ซึ่งจากข้อมูลที่ค้นพบนี้ แสดงให้เห็นว่าอาการปวดข้อเท้าด้านนอกนั้นสัมพันธ์กับการเกิดข้อเท้าพลิกอย่างมาก
การเกิดอาการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้านานๆ นั้น ทำให้การควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้าไม่ดีจนเป็นเหตุให้ข้อเท้าพลิกตามมาในที่สุด
ดังนั้น หากเริ่มมีอาการปวดข้อเท้าด้านนอกแล้ว ควรรีบรักษาให้หายขาดโดยเร็ว เพื่อลดการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณนั้น โดยหลักการรักษา
ลดแรงที่มากระทำบริเวณดังกล่าว
การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพื่อให้รับแรงได้ดีขึ้น และทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นฟื้นตัวดีขึ้น
การเปลี่ยนการลงเท้า วิธีการนี้ไม่ใช่การเปลี่ยนมาลงหน้าเท้าหรือกลางเท้าแบบที่เข้าใจกันผิด แต่เป็นการเปลี่ยนกลับไปลงส้นเท้าให้มากขึ้นต่างหาก
เนื่องจากการลงเท้าที่แตกต่างกันส่งผลให้โครงสร้างและกล้ามเนื้อที่ใช้รับแรงก็แตกต่างกัน แต่แรงไม่ได้หายไปไหน สำหรับการวิ่งลงส้นเท้าแรงกระทำต่อหัวเข่าจะมากกว่า ส่วนการวิ่งลงหน้าเท้าแรงกระทำต่อข้อเท้าและน่องก็จะมากกว่า ในกรณีมีอาการเจ็บบริเวณข้อเท้าอยู่ การวิ่งลงส้นเท้าเล็กน้อยในช่วงที่มีอาการเจ็บจะทำให้ลดแรงกระแทกที่ข้อเท้าลงได้โดยไม่ต้องหยุดวิ่ง (แต่ห้ามก้าวยาวจนเกินไปและวิ่งลงส้นตอนเข่าตึง)
สรุปคือ อาการปวดข้อเท้าด้านนอกนั้นสัมพันธ์กับการเกิดข้อเท้าพลิก หากเริ่มมีอาการแล้วควรรีบรักษาให้หายขาด เพื่อป้องกันไม่ให้อาการเป็นหนักมากขึ้นจนเกิดข้อเท้าพลิกตามมา ซึ่งรุนแรงกว่าและส่วนมากส่งผลให้ตัดงหยุดพักรักษาเป็นเวลานาน
นอกจากนี้การใช้แผ่นรองwww.youtube.com/watchหรือ รองเท้าที่เหมาะสมกับลักษณะเท้าเท้าที่แตกต่างกันของแต่ละคนแต่ละคน เพื่อกระจายน้ำหนัก และควบคุมการบิดข้อเท้าเท้าให้ตามสรีระท่าทาง ที่ถูกต้อง