ReadyPlanet.com
dot dot
ปวดน่องจาก เส้นเลือดขาตีบ

                                                          

                                                                        

           ท่านเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่ ปวดน่อง ปวดสะโพก เป็นตะคริวขณะเดินหรือออกกำลังกาย แต่เมื่อได้นั่งพัก อาการจะดีขึ้น
         อาการปวดน่องที่กล่าวมาข้างต้น อาจดูเหมือนเป็นการปวดกล้ามเนื้อธรรมดา หรือเป็นเพียงโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อทั่วไป ซึ่งอาจทำให้ไม่ได้ให้ความสนใจกับอาการปวดนี้มากนัก
         บางท่านอาจเพียงแค่นอนพัก หาซื้อยาแก้ปวดมารับประทานเอง ประคบร้อนหรือเย็น หรือไปนวด ซึ่งเป็นการรักษาทางเลือกอีกวิธีหนึ่งที่คนส่วนใหญ่จะรักษาเมื่อมีอาการปวดกล้ามเนื้อ

        บทความนี้ จะกล่าวถึงอาการปวดน่อง ที่เกิดจากสาเหตุอื่น นั่นคือ 

       ปวดน่องจากหลอดเลือดแดงส่วนปลาย Peripheral artery disease (PAD) เป็นโรคเรื้อรังที่มีความผิดปกติแบบค่อยเป็นค่อยไปของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่และขนาดกลาง 
       ลักษณะความผิดปกติคือ มีการตีบ หรืออุดตันของหลอดเลือดแดงที่ขา ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาได้น้อยลง

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่

ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่ หรือเป็นโรคเบาหวาน  เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สุดที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตัน
       ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไต

ทำไมหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ถึงทำให้ปวดน่อง

โรคหลอดเลือดแดงอุดตัน เกิดจากผนังชั้นในของหลอดเลือดถูกทำลาย ทำให้เกิดการสะสมของก้อนไขมัน  ที่บริเวณผนังชั้นในของหลอดเลือด เมื่อสะสมมากขึ้น ทำให้ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านหลอดเลือดนั้นน้อยลง

 เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน และหลอดเลือดแข็งตัว การที่เลือดไปเลี้ยงขาน้อยลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อขาดเลือด จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้าง และสรีระของกล้ามเนื้อ

มีการลดลงของมวลกล้ามเนื้อน่อง แต่มีการเพิ่มขึ้นของมวลไขมันแทน นอกจากนี้ยังพบว่า ทำให้เส้นประสาทส่วนปลายถูกทำลาย

ซึ่งทำให้การส่งสัญญาณของเส้นประสาทเกิดความผิดปกติไปด้วย ส่งผลให้เกิดกระบวนการอักเสบขึ้นภาวะหลอดเลือดแดงอุดตัน

                                 

ทำให้เกิดอาการปวดน่องและเป็นตะคริวเวลาเดิน เมื่อนั่งพักอาการจะดีขึ้นหรือหายไป  เนื่องจากขณะเดินกล้ามเนื้อขาต้องการเลือดไปเลี้ยงเพิ่มขึ้น แต่เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงได้เพราะหลอดเลือดอุดตัน  ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการขาดเลือด อาการปวดน่องจึงเพิ่มขึ้น

 เมื่อหยุดนั่งพัก กล้ามเนื้อไม่ได้ทำงาน เลือดไปเลี้ยงได้เพียงพอ อาการปวดน่องและตะคริวจึงหายไป นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นที่เกิดร่วมกับอาการที่กล่าวมาข้างต้น

 ดังนั้นจึงขอสรุปอาการที่เกิดจากหลอดเลือดแดงอุดตัน ดังนี้

  • ปวดกล้ามเนื้อน่อง หรือปวดตามตำแหน่งที่หลอดเลือดเกิดการอุดตัน โดยอาการปวดจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือ อาจจะปวดข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ โดยเฉพาะขณะเดิน และเมื่อนั่งพักอาการจะหายไปภายใน 10 นาที
    • ผิวหนังบริเวณนั้นมีสีซีด, มันวาว และไม่มีขน
  • ชีพจรที่เท้าเต้นเบา หรือจับไม่ได้ เมื่อเทียบกับอีกข้าง
  • มีอาการชาเท้า บางครั้งทำให้เกิดความสับสนกับอาการทางระบบประสาทได้ ซึ่งผู้ป่วยจะให้ประวัติว่า ต้องนำขาไปพาดไว้กับขอบเตียง ปล่อยให้เท้าห้อยลงมา อาการชาจะลดลง
  • มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
  • ผิวหนังข้างที่หลอดเลือดแดงอุดตันจะเย็น

      จะเห็นว่า อาการเหล่านี้ ถ้าไม่ได้สังเกต หรือระมัดระวัง อาจเหมือนอาการปวดจากกล้ามเนื้อทั่ว ๆ ไป ดูเหมือนไม่รุนแรง หรือบางครั้งทำให้เกิดความสับสนกับอาการทางระบบอื่น ๆ ได้ เนื่องจากอาการบางอย่างมีความใกล้เคียงกัน
      ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้สนใจกับอาการมากนัก ทำให้ได้รับการรักษาไม่ทัน ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้
 
ดังนั้นจะแสดงอาการเปรียบเทียบอาการทางระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อที่จะได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับอาการปวดที่ควรระวัง

 

 ตารางเปรียบเทียบลักษณะอาการปวดขา ของระบบ  กล้ามเนื้อ  ระบบประสาท  ระบบหลอดเลือด

 

กล้ามเนื้อ

ระบบประสาท

หลอดเลือด

ลักษณะอาการปวด

ปวดตื้อ

ปวดแหลม

ปวดตื้อ

ตำแหน่ง

กล้ามเนื้อขา

ก้น/ น่อง

น่อง

กิจกรรมที่ทำให้ปวด

ออกแรง/ ลงน้ำหนัก

ยืนนาน

ออกแรง/ เดิน

วิธีที่ทำให้ปวดลดลง

พัก

เปลี่ยนท่าทาง

พัก

อาการขณะพัก

ค่อยเป็นค่อยไป

นาน

ทันที

ชีพจรที่เท้า

ไม่เปลี่ยนแปลง

ไม่เปลี่ยนแปลง

ลดลง/ ไม่มี

ลักษณะผิวหนัง

ไม่เปลี่ยนแปลง

ไม่เปลี่ยนแปลง

ซีด มันวาว

 

เมื่อเป็นโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน มีการรักษา หรือดูแลตัวเองอย่างไร

 

ถ้ามีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องแนวทางการรักษามีทั้งการออกกำลังกายภายใต้การดูแล  การรับประทานยา และการผ่าตัด

  • การออกกำลังกายภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัดอย่างใกล้ชิด ทำโดยการเดินบนลู่วิ่ง โดยที่ให้เดินจนกระทั่งมีอาการปวดน่องระดับปานกลางแล้วนั่งพักจนกระทั่งอาการหายไป จึงเริ่มเดินใหม่อีกครั้งสลับกันไป รวมแล้วเป็นเวลา 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยใช้ระยะเวลาทั้งหมด 12 สัปดาห์ 
  • การรับประทานยากลุ่มขยายหลอดเลือด เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ซึ่งในที่นี้จะช่วยในเรื่องของอาการปวดน่องขณะเดิน แต่ถ้ารับประทานยาไปแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3-6 เดือน ให้หยุดยา และปรึกษาแพทย์ทันที
  • ถ้าอาการที่เป็นอยู่ส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง แนะนำพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อเข้ารับการผ่าตัด 

 จะพบว่าแค่อาการปวดน่อง ไม่ได้มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียว ยังมีอีกหลาย ๆ สาเหตุที่เป็นไปได้ ถ้าเราหมั่นสังเกตอาการให้ละเอียด เพื่อให้เข้าใจกับอาการที่เป็นอยู่ และเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนที่อาการจะทวีความรุนแรง


 เอกสารอ้างอิง 
          มหาวิทยาลัย มหิดล ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด  เรียบเรียงโดย   กภ.กนกวรรณ พลสา

 

 

 

 




ข่าวสารประชาสัมพันธ์ของเว็บไซต์

รีวิว คำติชมจากผู้ที่ใช้รองเท้าและแผ่นรองพื้นรองเท้า
วิธีการรักษาอาการเจ็บเท้า รองช้ำ ตามหลักทางการแพทย์ article
ประสบการณ์ของคนเคยเป็น รองช้ำ เจ็บเท้า
การวิจัยและพัฒนา รองเท้า และแผ่นรองพื้นชั้นใน article
ทำไมเจ็บเท้า ต้องประคบเย็น ไม่ใช่ร้อน
เท้าของคุณเป็นต้นเหตุของอาการปวดหลังหรือไม่
10แบบ อาการเจ็บเท้า ที่ีต้องใช้แผ่นรองเฉพาะบุคคล
10สาเหตุของอาการปวดที่ด้านบนของหลังเท้า
ความเชื่อที่ผิดๆเรื่องนิ้วห้วแม่เท้าเก
เด็กเท้าแบน
เจ็บข้อเท้าด้านนอก
มาทำความเข้าใจดวามหมายของรองเท้าแต่ละแบบที่ผู้ผลิตรองเท้าเรียก
สาเหตุที่ทำให้เจ็บเท้า ข้อมูล งานวิจัยจาก Temple University school of podiatric medicine
การใช้ความร้อน และความเย็นให้เหมาะสมกับอาการปวด
รองเท้ากีฬา ใช้นานแค่ไหน ควรเปลี่ยนใหม่
ทำไมรองเท้าที่พอดีเกินไปทำให้เล็บเท้าเจ็บ
เก้าอี้กับ อาการชาและปวดหลัง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
๊ืUnder pronation เท้าล้มเอียงด้านนอก
การรักษา Over pronation เท้าล้มเอียงเข้าด้านใน
Over pronation V.S, Under Pronation เท้าล้มเอียงด้านใน กับ เท้าล้มเอียงด้านนอก
อาการเจ็บจากPronation หรือเท้าล้มเอียง
ข้อเข่าเสื่ิอมจริงหรือ
ปวดคอ กระดูกคอเสื่อม
เสียง ดังก้อกแก็ก ในข้อเข่า



dot
หมวดหมู่สินค้าหรือบริการของเว็บไซต์
dot
bulletเบาะรองนั่ง ปรับท่านั่ง รักษา ปวดเมื่อหลัง
bulletยืดกล้ามเนื้อ รักษา เจ็บเท้า ปวดหลัง
bulletสินค้าหรือบริการ 4
dot
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน
dot
bulletรถตู้ป้ายแดง
bulletที่ปรึกษาแนะนำแก้ไข การแต่งหน้า ผม เฉพาะดน
bulletตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์
dot
Newsletter

dot


แบนเนอร์ตัวอย่าง
แบนเนอร์ตัวอย่าง
แบนเนอร์ตัวอย่าง
แบนเนอร์ตัวอย่าง
แบนเนอร์ตัวอย่าง


Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท footsiam ทะเบียนพานิชย์ เลขที่ 3100603068778
ที่อยู่ :  เลขที่ 255/95. เขต :  วังทองหลาง แขวง : วังทองหลาง
จังหวัด : กรุงเทพ      รหัสไปรษณีย์ : 10310
เบอร์โทร :  02 9326085      มือถือ :  089 1355903.
อีเมล : footsiam@hotmail.com
เว็บไซต์ : www.footsiam.com